วันศุกร์ที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

อนุทินคั้งที่ 17

บันทึกอนุทินครั้งที่    17
 วัน อังคารที่ 30 เดือน เมษายน พ.ศ. 2558

วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย

วันนี้เป็นการปิดคอร์สเรียนวันสุดท้าย
               อาจารย์ให้นักศึกษาไปฝึกร้องเพลงมาเพื่อมาสอบร้องหน้าชั้นเรียน โดยอาจารย์จะจับฉลากเลขที่ที่จะได้ออกมาร้องเพลงหน้าชั้นแล้วให้คนที่ออกมาจับฉลากขึ้นมาว่าจะได้ร้องเพลงอะไร โดยให้มีกฎกติกาว่า 1. ถ้าดูเนื้อเพลงหัก 1 คะเเนน 2. ให้เพื่อนช่วยร้องหัก1คะเเนน 3. ขอเปลี่ยนเพลงหัก 0.5 คะเเนน
ดิฉันจับได้เพลงผลไม้ ซึ่งเป็นเพลงที่ร้องง่ายเเเต่ด้วยความตื่นเต้นในการไปร้องเพลงหน้าห้องบวกกับการต้องใช้ไมค์ร้องอีกทำให้รู้ตื่นเต้นและกลัวที่จะร้องผิดจึงขออาจารย์ดูเนื้อเพลงเเต่ก็ทำให้การร้องผ่านไปได้ด้วยดีค่ะโดยการขอดูเนื้อเพลงจึง ได้ 4 เต็ม 5 ค่ะ

เพลงที่ดิฉันได้ก็คือ
เพลงผลไม้
ส้มโอ แตงโม แตงไทย
ลิ้นจี่ ลำไย องุ่น พุธซา
เงาะ ฝรั่ง มังคุด
กล้วย ละมุด น้อยหน่า
ขนุน มะม่วง นานาพันธ์
โดยการขอดูเนื้อเพลง ได้ 4 เต็ม 5 ค่ะ

 การประเมินการเรียนการสอน
ตนเอง
เข้าเรียนตรงต่อเวลา แต่งกายสุภาพเรียบร้อย ซึ้งวันนี้อาจารย์ให้ร้องเพลง ซึ้งทำได้ไม่ค่อยดีเพราะตื่นเต้นกับจำเนื้อร้องไม่ค่อยได้ เลยได้ 4 เต็ม 5 ค่ะ
เพื่อน
 *  เพื่อนๆเข้าเรียนตรงเวลาและก็ฝึกซ้อมร้องเพลงกันเพื่อจะออกไปสอบหน้าชั้รเรียนเพื่อนส่วนใหญ่ทำได้ดีกันทุกคนค่ะ
ครูผู้สอน
อาจารย์แต่งกายเรียบร้อย มาสอนตรงต่อเวลา วันนี้อาจารย์สอบร้องเพลงกับนักศึกษาอาจารย์ก็ช่วยนักศึกษาร้องเพลงไปด้วย อาจารย์น่ารักและใจดีเป็นอย่างมากค่ะ

อนุทินครั้งที่ 16

บันทึกอนุทินครั้งที่    1
 วัน อังคารที่ 21 เดือน เมษายน พ.ศ. 2558

วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย

โปรเเกรมการศึกษาเฉพาะบุคคล ( Individualized  Education  Program )
 ·     แผน IEP
- แผนการศึกษาที่ร่างขึ้น
- เพื่อให้เด็กพิเศษแต่ละคนได้รับการสอน และการช่วยเหลือฟื้นฟูให้เหมาะสมกับความต้องการและความสารถของเขา
- การจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของเด็ก
- ระบุเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุดการใช้เเผนและวิธีการวัดประเมินผลเด็ก
แผน IEP สร้างเเล้วต้องให้ผู้ปกครองดูก่อนและเซ็นอนุญาติก่อนที่จะนำมาใช้ เพราะเราจะต้องเอาไปใช้เป็นแผนการสอนกับลูกของผู้ปกครองคนนั้น

· การเขียนเเผน
- คัดแยกเด็กพิเศษ
- ครูต้องครูว่าเด็กมีปัญหาอะไร
- ประเมินพัฒนาการเด็กเป็นระยะ จะทำให้ทราบว่าจะต้องเริ่มช่วยเหลือเด็กจากจุดไหนในทักษะใด
- เด็กสามารถทำอะไรได้ / เด็กไม่สามารถทำอะไรได้แล้วจึงเริ่มเขียนเเผน IEP

· IEP ประกอบด้วย
- ข้อมูลส่วนตัวของเด็ก
- ระบุว่าเด็กมีความจำเป็นต้องได้รับบริการพิเศษอะไรบ้าง
- การระบุความสามรถของเด็กในขณะปัจจุบัน
- เป้าหมายระยะยาวประจำปี / ระยะสั้น
- ระบุวัน เดือน ปี ที่เริ่มทำการสอน และคาดคะเนการสิ้นสุดของเเผน
-วิธีการประเมินผล

·ประโยชน์ต่อเด็ก
- ได้เรียนรู้ตามความสามารถของตน
- ได้มีโอกาสพัฒนาศักยภาพของตน
- ได้รับการศึกษาและฟื้นฟูอย่างต่อเนื่องและเหมาะสม
- ถ้าเด็กเข้าเรียนในโรงเรียนจะไม่ถูกจัดเข้าชั้นเรียน

·ประโยชน์ต่อครู
- เป็นเเนวทางการจัดการเรียนการสอนที่ตรงกับความสามารถและความต้องการของเด็ก
- เป็นเเนวทางในการเลือกสื่อการสอนและวิธีการสอนให้เหมาะกับเด็ก
- ปรับเปลี่ยนได้เมื่อความต้องการเปลี่ยนแปลงไป
- เป็นแนวทางในการประเมินผลการเรียนและการเขียนรายงานพัฒนาการความก้าวหน้าของเด็ก
- ตรวจสอบและประเมินได้เป็นระยะ

· ประโยชน์ต่อผู้ปกครอง
- ได้มีส่วนร่วมในการจัดทำแผนการเรียนรายบุคคล เพื่อให้เด็กได้พัฒนาความสามารถได้สูงสุดตามศักยภาพ
- ทราบร่วมกับครูว่าลูกของตนเป็นอย่างไร
- เกิดความร่วมมือในการพัฒนาเด็ก มีการติดต่อสื่อสารกันอย่างต่อเนื่อง 
  และใกล้ชิดระหว่างบ้านกับโรงเรียน 

ขั้นตอนการจัดทำแผนการศึกษารายบุคล 
 1. การรวบรวมข้อมูล
 - รายงานทางการแพทย์ 
- รายงานการประเมินด้านต่างๆ 
- บันทึกจากผู้ปกครอง, ครู และผู้ที่เกี่ยวข้อง 
 2. การจัดทำแผน
 - ประชุมผู้ที่เกี่ยวข้อง
- กำหนดจุดมุ่งหมายระยะยาว และระยะสั้น 
- กำหนดโปรแกรม และกิจกรรม 
- จะต้องได้รับการรับรอง แผนการศึกษาเฉพาะบุคคลจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง 
 การกำหนดจุดมุ่งหมายระยะยาว >> กำหนดให้ชัดเจน กว้างๆ 
การกำหนดจุดมุ่งหมายระยะสั้น >> ตั้งให้อยู่ภายใต้จุดมุ่งหมายหลัก 
เป็นพฤติกรรมที่เด็กสามารถทำได้ ในระยะ 2-3 วัน หรือ 2-3 สัปดาห์ 
- จะสอนใคร
-พฤติกรรมอะไร
-เมื่อไหร่ ที่ไหน
-พฤติกรรมนั้นต้องดีขนาดไหน
 3. การใช้แผน
 - เมื่อแผนเสร็จสมบูรณ์ ครูจะนำไปใช้โดยใช้แผนระยะสั้น 
- นำมาทำเป็นจุดประสงค์เชิงพฤติกรรม
- แยกย่อยขั้นตอนการสอนให้เหมาะกับเด็ก
- จัดเตรียมสื่อ และจัดกิจกรรมการเรียนการสอน 
- ต้องมีการสังเกตรวบรวมข้อมูล เกี่ยวกับเด็ก โดยคำนึงถึง
1. ขั้นตอนพัฒนาการของเด็กปกติ 
2. ตัวชี้วัดพื้นฐาน ที่เกี่ยวกับปัญหาของพัฒนาการเด็ก 
3. อิทธิพลของสิ่งแวดล้อมของเด็ก และผู้ใหญ่ที่มีผลต่อการแสดงออกของเด็ก
 4. การประเมินผล 
 - โดยทั่วไปจะประเมินภาคเรียนละ 1 ครั้ง กรือย่อยกว่านั้น  
- ควรมีการกำหนดวิธีการประเมิน และเกณฑ์วัดผล
กิจกรรมที่ 1เป็นกิจกรรมเกมทายใจเพื่อให้นักศึกษาผ่อนคลายความเครียดก่อนเข้าสู่บทเรียน
 กิจกรรมที่ 2  กิจกรรมกลุ่ม >> อาจารย์ให้นักศึกษาแบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 5 คน ให้แต่ละกลุ่มเลือกเพื่อน 1 คนเป็นเด็กพิเศษ ช่วยกันระดมความคิดในการเขียนแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล

การประเมินการเรียนการสอน
ตนเอง
เข้าเรียนตรงต่อเวลา แต่งกายสุภาพเรียบร้อย เรียนตามเนื้อหาและก็ตั้งใจฟังอาจารย์และจดบันทึกตามที่อาจารย์ได้สอน อาจมรเล่นโทรศัพท์ไปบ้างเล็กน้อย
เพื่อน
 *  เพื่อนๆเข้าเรียนตรงเวลาและตั้งใจเรียนมิอาจารย์ได้สอนหรือให้ทำกิจกรรมกันเป็นอย่างดี อาจจะมีบางกลุ่มพูดคุยกันบ้างแต่ไม่มาก
ครูผู้สอน
อาจารย์แต่งกายเรียบร้อย มาสอนตรงต่อเวลา อาจารย์คอยแนะนำและมีเทคนิคใหม่ๆมาสอน และชอบหากิจกรรมมาให้นักศึกษาเสมอ


อนุทินครั้งที่ 15

บันทึกอนุทินครั้งที่    15
 วัน อังคารที่ 14 เดือน เมษายน พ.ศ. 2558

วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย



**** วันนี้ไม่มีการเรียนการสอนเนื่องจากเป็นวันหยุดสงกรานต์****

อนุทินครั้งที่ 14

บันทึกอนุทินครั้งที่    14
 วัน อังคารที่ 6 เดือน เมษายน พ.ศ. 2558

วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย

ความรู้ที่ได้รับ
                การส่งเสริมทักษะต่างๆ ของเด็กพิเศษ
                  ทักษะพื้นฐานทางการเรียน
        เป้าหมาย
              -  การช่วยให้เด็กแต่บะคนเรียนรู้ได้
              -  มีความรู้สึกดีต่อตนเอง
              -  เด็กรู้สึกว่า "ฉันทำได้"
              -  พัฒนาความกระตือรือร้น  อยากรู้อยากเห็น
              -  อยากสำรวจ  อยากทดลอง  
        ช่วงความสนใจ
              -  ต้องมีก่อนการเรียนรู้อื่นๆ
              -  จดจ่อต่อกิจกรรมในช่วงเวาหนึ่งได้นานพอสมควร         
       การเลียนแบบ
             -  เลียนแบบครู
             -  รุ่นพี่      
       การทำตามคำสั่ง  คำแนะนำ
            -  เด็กได้ยินสิ่งที่ครูพูดชัดหรือไม่
           -  เด็กเข้าใจคำศัพท์ที่ครูใช้หรือไม่
           -  คำสั่งยุ่งยากซับซ้อนไปหรือไม่
                 (อย่าสั่งอะไรหลายอย่าง)

         การรับรู้  การเคลื่อนไหว
           ได้ยิน  เห็น  สัมผัส  ลิ้มรส  กลิ่น
             ตอบสนองอย่างเหมาะสม
      การควบคุมกล้ามเนื้อเล็ก    
           -  การกรองน้ำ  ตวงน้ำ          
           -  ต่อบล็อก
           -  ศิลปะ
           -  มุมบ้าน
           -  ช่วยเหลือตนเอง
       ตัวอย่างอุปกรณ์สำหรับเด็กพิเศษ
          -  ลูกปัดไม้ขนาดใหญ
          -  รูปต่อที่มีจำนวนชิ้นไม่มาก      
      ความจำ
         -  จากการสนทนา
         -  เมื่อเช้าหนูทานอะไร
         -  แกงจืดที่เรากินใส่อะไรบ้าง
         -  จำตัวละครในนิทาน
         -  จำชื่อครู  เพื่อน
         -  เล่นเกมทายของที่หายไป
      ทักษะคณิตศาสตร์  วิทยาศาสตร์
         -  จำแนก
         -  เปรียบเทียบ
         -  มิติสัมพันธ์
         -  การวัด
         -  การตวง
     การวางแผนการเตรียมพื้นฐานทางวิชาการ
         -  จัดกลุ่มเด็ก
         -  เริ่มต้นเรียนรู้โดยใช้ช่วงเวลาสั้นๆ
         -  ให้งานเด็กแต่ละคนอย่างชัดเจนว่าต้องทำที่ไหน
         -  ติดชื่อเด็กตามที่นั่ง
         -  ใช้อุปกรณ์ที่เด็กคุ้นเคย
         -  ใช้อุปกรณ์ที่เด็กคุ้นเคย
         -  บันทึกว่าเด็กชอบอะไรที่สุด
         -  รู้ว่าเมื่อไหร่จะเปลี่ยนงาน
         -  มีอุปกรณ์ไว้สับเปลี่ยนใกล้มือ
         -  เตรียมทุกอย่างให้พร้อมก่อนเด็กมาถึง
         -  พูดในทางที่ดี
          -  จัดกิจกรรมให้เด็กได้เคลื่อนไหว
          -  ทำบทเรียนให้สนุก

เพลงเด็กปฐมวัย
                                                                                           ผู้แต่ง อ.ศรีนวล  รัตนสุวรรณ
                                                                                          เรียบเรียง อ.ตฤณ  แจ่มถิน
          
เพลง นกกระจิบ
นั่นนก บินมาลิบลิบ
นกกระจิง 1 2 3 4 5
อีกฝูกบินล่องลอยมา 6 7 8 9 10 ตัว
 เพลง เที่ยวท้องนา
ฉันท่องเที่ียวไป
ผ่านตามท้องไร่ท้องนา
เห็นฝูงวัวกินหญ้า 1 2 3 4 5 ตัว
หลงเที่ยวเพลิดเพลิน
ฉันเดินพบอีกฝูงวัว
นับนับดูจนทั่ง 6 7 8 9 10 ตัว
 เพลง แม่ไก่ออกไข่
แม่ไก่ออกไข่วันละฟอง
ไข่วันละฟอง ไข่วันละฟอง
แม่ไก่ของฉันไข่ทุกวัน
1 วันได้ไข่ 1 ฟอง
 เพลง ลูกแมวสิบตัว
ลูกแมว 10 ตัวที่ฉันเลี้ยงไว้
น้องขอให้แบ่งไป 1 ตัว
ลูกแมว 10 ตัวก็เหลือน้อยลงไป
นับดูใหม่เหลือลูกแมว 9 ตัว
เพลง ลุงมาชาวนา
ลุงมาชาวนาเลี้ยงวัว เลี้ยงควาย
เอาไว้ใช้ไถนา
ลุงมาชาวนาเลี้ยงหมา เลี้ยงแมว
ไว้เป็นเพื่อลุงมา
*หมาก็เห่า บ๊อก บ๊อก
แมวก็ร้อง เมี๊ยง  เมี๊ยว
ลุงมาไถนา วัวร้อง มอ มอ
(ซ้ำ*)
 การประเมินการเรียนการสอน
ตนเอง
เข้าเรียนตรงต่อเวลา แต่งกายสุภาพเรียบร้อย เรียนตามเนื้อหาและก็ตั้งใจฟังอาจารย์และจดบันทึกตามที่อาจารย์ได้สอน อาจมรเล่นโทรศัพท์ไปบ้างเล็กน้อย
เพื่อน
 *  เพื่อนๆเข้าเรียนตรงเวลาและตั้งใจเรียนมิอาจารย์ได้สอนหรือให้ทำกิจกรรมกันเป็นอย่างดี อาจจะมีบางกลุ่มพูดคุยกันบ้างแต่ไม่มาก
ครูผู้สอน
อาจารย์แต่งกายเรียบร้อย มาสอนตรงต่อเวลา อาจารย์คอยแนะนำและมีเทคนิคใหม่ๆมาสอน และชอบหากิจกรรมมาให้นักศึกษาเสมอ