วันจันทร์ที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2558

อนุทินครั้งที่ 11

บันทึกอนุทินครั้งที่    11
 วัน อังคารที่ 17 เดือน มีนาคม พ.ศ. 2558
วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย

ครูผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
เนื้อหาที่เรียนในวันนี้ การส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ 
ทักษะการช่วยเหลือตนเอง   เรียนรู้การดำรงชีวิตโดยอิสระให้มากที่สุด
·       การกินอยู่
·       การเข้าห้องน้ำ
·       การแต่งตัว
การสร้างความอิสระโดยที่ไม่พึ่งใคร
·       เด็กอยากช่วยเหลือตนเอง
·       อยากทำงานตามความสามารถ
·       เลียนแบบการช่วยเหลือตนเองจากเพื่อนและผู้ใหญ่
ความสำเร็จเป็นสิ่งสำคัญ
·       การทำได้ด้วยตนเอง
·       เชื่อมั่นในตนเอง
·       เรียนรู้ความรู้สึกที่ดี
จะช่วยเมื่อไหร่
·       เด็กจะมีบางวันที่ไม่อยากทำอะไร เช่น  หงุดหงิด เบื่อ ไม่ค่อยสบาย
·       หลายครั้งเด็กจะขอความช่วยเหลือในสิ่งที่ได้เรียนรู้ไปแล้ว
·       เด็กรู้สึกว่ายังมีผู้ใหญ่ที่พึ่งได้  แต่ต้องได้รับความช่วยเหลือเฉพาะสิ่งที่เด็กต้องการ
·       มักช่วยเด็กในช่วงกิจกรรม

ตารางเกี่ยวกับพฤติกรรมต่าง ๆ ที่เกิดกับเด็กตามช่วงอายุแต่ละปี




 ลำดับขั้นในการช่วยเหลือ

·       แบ่งทักษะการช่วยเหลือออกเป็นขั้นย่อยๆ
·       เรียนลำดับตามขั้นตอน
การเข้าส้วม
1.        เข้าไปในห้องส้วม
2.        ดึงกางเกงลง
3.        ก้าวขึ้นไปนั่งบนส้วม
4.        ปัสสาวะหรืออุจจาระ
5.       ใช้กระดาษชำระเช็ดก้น
6.        ทิ้งกระดาษชำระในตะกร้า
7.        กดชักโครกหรือตักน้ำราด
8.        ดึงกางเกงขึ้น
9.        ล้างมือ
10.      เช็ดมือ
11.      เดินออกจากห้องส้วม
การวางแผนที่ละขั้น
·       แยกกิจกรรมเป็นขั้นย่อยๆให้มากที่สุด

สรุป
1.         ครูต้องพยายามให้เด็กทำสิ่งต่างๆด้วยตนเอง
2.         ย่อยงานแต่ละอย่างเป็นขั้นๆ
3.         ความสำเร็จชิ้นเล็กๆนำไปสู่ความสำเร็จทั้งมวล
4.         ช่วยให้เด็กมีความมั่นใจในตนเอง
5.         เด็กพึ่งตนเองได้รู้สึกเป็นอิสระ

การประเมินการเรียนการสอน
ตนเอง
เข้าเรียนตรงต่อเวลา แต่งกายสุภาพเรียบร้อย เรียนตามเนื้อหาและก็ตั้งใจฟังอาจารย์และจดบันทึกตามที่อาจารย์ได้สอน อาจมรเล่นโทรศัพท์ไปบ้างเล็กน้อย
เพื่อน
 *  เพื่อนๆเข้าเรียนตรงเวลาและตั้งใจเรียนมิอาจารย์ได้สอนหรือให้ทำกิจกรรมกันเป็นอย่างดี อาจจะมีบางกลุ่มพูดคุยกันบ้างแต่ไม่มาก
ครูผู้สอน
อาจารย์แต่งกายเรียบร้อย มาสอนตรงต่อเวลา อาจารย์คอยแนะนำและมีเทคนิคใหม่ๆมาสอน และชอบหากิจกรรมมาให้นักศึกษาเสมอ


อนุทินครั้งที่ 10

บันทึกอนุทินครั้งที่    10
 วัน อังคารที่ 10 เดือน มีนาคม พ.ศ. 2558
วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
ครูผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
สิ่งที่ได้รับความรู้ในวันนี้
การวัดความสามารถทาภาษา
·     เข้าใจสิ่งที่ผู้อื่นพูดไหม
·     ตอบสนองเมื่อมีคนอื่นพูดด้วยไหน
·     ถามหาสิ่งต่างๆไหม
·     บอกเล่าเหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นไหม
·     ใช้คำศัพท์ของตัวเองกับเด็กคนอื่นไหม
การปฏิบัติของครูและผู้ใหญ่
- ครูหรือผู้ใหญ่ไม่ควรสนใจการพูดติดขัด การพูดไม่ชัดของเด็ก และห้ามบอกเด็กว่า พูดช้า” “ตามสบาย” “คิดก่อนพูดและอย่าขัดจังหวะเวลาเด็กพูดเพราะขัดจังหวะจะทำให้เด็กไม่มีความ     มั่นใจในการพูดครั้งต่อไป
- ไม่เปรียบเทียบการพูดของเด็กกับเด็กคนอื่น การเปรียบเทียบเป็นสิ่งที่ไม่ดีและคนเป็นครูไม่ควรที่จะเปรียบเทียบเด็กไม่ว่าจะเป็นเรื่องอะไรก็แล้วแต่ เพราะจะทำให้เด็กขาดความเชื่อมั่นในตนเอง ไม่กล้าแสดงออกและเด็กก็จะเกิดปมในใจ
- เด็กที่พูดไม่ชัดอาจเกี่ยวเนื่องจากการได้ยินครูควรสังเกตพฤติกรรมเด็กไปเรื่อยๆ หาวิธีแก้ไขและส่งเสริม หาสาเหตุที่แท้จริง และครูก็อย่าด่วนสรุปการพูดไม่ชัดของเด็กไปเอง เพราะเด็กอาจจะได้ยินเสียงผิดปกติ หรือลิ้นไก่สั้นก็เป็นได้
ทักษะพื้นฐานทางภาษา
·     ทักษะการรับรู้ภาษา
·     การแสดงออกทางภาษา
·     การสื่อความหมายโดยไม่ใช้คำพูด
- หากเด็กพิเศษทำได้ 2 ข้อ ถือว่าเก่งมาก
ความรับผิดชอบของครูปฐมวัย
·     การรับรู้ภาษามาก่อนการแสดงออกทางภาษา การเข้าใจสีหน้าแบะแววตา
·     ภาษาที่ไม่ใช่คำพูดมาก่อนภาษาพูด ภาษาท่าทาง กิริยาอาการที่แสดงออกมา
·     ให้เวลาเด็กได้พูด รับฟังความคิดเห็นของเด็ก เปิดโอกาสให้เด็ได้แสดงออกทางความคิดผ่านการพูดหรือผลงาน
·     คอยให้เด็กตอบ(ชี้แนะหากจำเป็น) ขณะทำกิจกรรมหรือทำเสร็จครูอาจจะใช้คำถามให้เด็กได้แสดงความคิดเห็นของเขา หากเด็กยังตอบไม่ได้ครูก็อาจจะชี้แนะแนวทางเพื่อให้เด็กมั่นใจที่จะตอบมากยิ่งขึ้น
·       เป็นผู้ฟังที่ดีและโตตอบอย่างฉับไว เมื่อเด็กแสดงความคิดหรืออวดผลงานของตนเอง ครูควรที่จะชมทันทีและไม่พูดยาวเกินไปพูดแค่สิ่งที่เด็กต้องการที่จะสื่อสารกับเรา หรือครูไม่ควรพูดมาก
·       เด็กไม่ได้เรียนรู้ภาษาจากการฟังอย่างเดียว อาจจะเรียนรู้ผ่านภาพ ผ่านเสียงเพลง การการสนทนา ผ่านตัวหนังสือที่แปะตามห้องเรียน เป็นต้น
·       ให้เด็กทำกิจกรรมกลุ่ม เด็กพิเศษจะเลียนแบบเด็กปกติ เด็กปกติเปรียบเสมือนครูของเขา เด็กพิเศษจะดูแล้วก็ทำตาม
·       การกระตุ้นให้เด็กบอกความต้องการของตนเอง (ครูไม่ควรคาดการณ์ล่วงหน้า)
เช่น  การใส่ที่คาดผม เด็กกำลังใส่ที่คาดผมอยู่
1.      เข้าไปหา แล้วถามว่า "หนูกำลังทำอะไรอยู่คะลูก"
2.      หนูกำลังใส่ที่ คาดผม อยู่ใช่ไหมลูก
3.      ถ้าเด็กยังไม่ตอบ
4.      ให้ครูช่วยใส่ที่ คาดผม ไหมลูก (พูดที่คาดผมบ่อยๆ)
5.      ถ้าเด็กยังไม่พูด ครูจับมือเด็กแล้วใส่ให้เลย
ความรู้ที่ได้รับจากการดูวีดีโอ ผลิบานผ่านมือครู โรงเรียนอนุบาลบ้านพลอยภูมิ
กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ
·     ทำให้เด็กมีสมาธิรู้จักการรอคอย
·     มีทักษะการฟังมากยิ่งขึ้น
·     กิจกรรมมีเพลงมีท่าทางประกอบเพื่อฝึกสมาธิ
·     ใช้กิจกรรมเพื่อเรียกสมาธิตอนเช้าก่อนเข้าสู่กิจกรรมอื่น
สำหรับเด็กพิเศษ มีห่วงมาร่วมกิจกรรมใช้เป็นเงื่อนไขในการทำกิจกรรม จาก 1 วงเพื่อขึ้นเรื่อยๆเพื่อความยากในการกระโดด ฝึกให้เด็กกระโดดจนกระโดดเก่ง เมื่อเด้กทำได้เขาจะเกิดความภูมิใจและมีความมั่นใจในตัวเองมากขึ้น
·       การกระโดดเป็นการฝึกการกะระยะฝึกความสัมพันธ์ระหว่างตา
งานศิลปะเพื่อเรียนสมาธิ
    เปิดเพลงจังหวะดนตรีเบาๆ แล้วให้เด็กจับคู่กัน 2 คน แจกกระดาษ 1 แผ่นและหยิบสีคนละ 1 แท่ง แล้วลากสีเป็นรูปทรงเหลี่ยมมีมุม ห้ามมุมหักและเป็นรูปวงกลม และห้ามยกมือขึ้นจนกว่าเพลงจะจบ
เมื่อเพลงจบ ให้เด็ดระบายสีตรงมุมที่มีช่วงว่างหรือตัดกัน
 
 สิ่งที่ได้รับจากการทำกิจกรรม
1.        มิติสัมพันธ์
2.         ฝึกสมาธิ
3.         พัฒนาอารมณ์และจิตใจ
4.         พัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็ก
5.         ความสัมพันธ์ระหว่างมือและตา
6.         ความคิดสร้างสรรค์
7.         ด้านภาษา
8.         ด้านสังคมการทำกิจกรรมร่วมกับเพื่อน
การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
1.       ใช้ในการส่งเสริมทักษะทางภาษากับเด็กปฐมวัยอย่างถูกวิธี
2.       ใช้กับตัวเองเพื่อปรับเปลี่ยนทัศนคติและเตือนตนเองอยู่เสมอ
3.       ใช้ในการเข้าใจความแตกต่างและธรรมชาติของเด็ก
4.       ใช้ในการแก้ไขปัญหาหรือปฏิบัติตนเมื่ออยู่ในสถานการณ์ต่างๆ
5.       ใช้ในการปฏิบัติให้เป็นครูที่ดี มีความรู้และเป็นที่รักของเด็ก
6.       นำไปบอกต่อกับผู้ปกครองหรือเพื่อนที่ยังไม่รู้ในเรื่องของเด็กพิเศษ
 การประเมินการเรียนการสอน
ตนเอง
เข้าเรียนตรงต่อเวลา แต่งกายสุภาพเรียบร้อย เรียนตามเนื้อหาและก็ตั้งใจฟังอาจารย์และจดบันทึกตามที่อาจารย์ได้สอน อาจมรเล่นโทรศัพท์ไปบ้างเล็กน้อย
เพื่อน
 *  เพื่อนๆเข้าเรียนตรงเวลาและตั้งใจเรียนมิอาจารย์ได้สอนหรือให้ทำกิจกรรมกันเป็นอย่างดี อาจจะมีบางกลุ่มพูดคุยกันบ้างแต่ไม่มาก
ครูผู้สอน
อาจารย์แต่งกายเรียบร้อย มาสอนตรงต่อเวลา อาจารย์คอยแนะนำและมีเทคนิคใหม่ๆมาสอน และชอบหากิจกรรมมาให้นักศึกษาเสมอ